ช่องทางขายสกินแคร์, การกระจายสินค้า แบรนด์ควรวางกลยุทธ์ยังไงให้ปัง?
ช่องทางการขาย, การกระจายสินค้า เป็นสิ่งที่ปฏิเสธได้ยากว่าไม่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์สกินแคร์ เพราะในยุคที่ตลาดสกินแคร์เติบโตอย่างรวดเร็วและการแข่งขันสูง การเลือกช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าให้เหมาะสมมีความสำคัญอย่างมาก หากทำได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา ก็สามารถพลิกจากหลังมือเป็นหน้ามือได้เลย วธูธรจึงขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจในกระบวนการวางกลยุทธ์การกระจายสินค้า ความสำคัญของการเลือกช่องทางขาย รวมถึงวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย
การกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือและความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้า มาดูกันว่าแบรนด์ควรทำอย่างไรเพื่อวางกลยุทธ์ที่ตรงใจลูกค้าและกระจายสินค้าในช่องทางที่หลากหลาย
ทำไมการเลือกช่องทางจัดจำหน่ายสกินแคร์ให้เหมาะสมจึงสำคัญ?
ความสำคัญของช่องทางขายสกินแคร์ที่เหมาะสมและกลยุทธ์การจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ อันดับแรกเลย คือการ “สร้างความได้เปรียบทางการตลาด” เพราะอย่างที่รู้กันว่า กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ก็อาจมีช่องทางการซื้อสินค้าที่แตกต่างกันไปด้วย นั่นก็คือ ถ้าเลือกลงถูกตลาด โอกาสที่ลูกค้ากับแบรนด์จะได้เจอกันก็มีมากขึ้น กลับกัน ถ้าเลือกไปลงในตลาดที่ไม่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ ก็เหมือนเอาของไปวางไว้เฉยๆ นอกจากจะสร้างยอดขายไม่ได้แล้ว ก็ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
สิ่งสำคัญอีกข้อคือ “ความน่าเชื่อถือ” ถ้าหากลองมองในมุมผู้บริโภคต่อสินค้าสกินแคร์หรือเครื่องสำอาง ช่องทางจัดจำหน่ายที่น่าไว้วางใจ ก็ส่งผลมาถึงความไว้เนื้อเชื่อใจในสินค้าและแบรนด์ด้วยเหมือนกัน เพราะต่อให้สินค้าดีจริง แต่ไปอยู่ในแพลตฟอร์ม หรือสถานที่ที่ไม่ได้มีภาพลักษณ์ในทิศทางเดียวกับแบรนด์ ดูขัดแย้ง ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่เลือกซื้อได้ (ลองนึกภาพตามดูว่า สินค้าประเภทต่างๆ เช่น มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารสด แต่ละประเภทซื้อที่ไหนถึงจะดีที่สุด สินค้าสกินแคร์ก็จำเป็นต้องสร้างการจดจำผ่านช่องทางการขายแบบนั้นเช่นกัน) การเลือกช่องทางจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับภาพลักษณ์แบรนด์ ประเภทสินค้า จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างโอกาสในการขายได้
วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับสกินแคร์
ช่องทางออนไลน์
- E-commerce Platform
- ข้อดี: ช่องทางนี้ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ทุกเวลา เช่น แพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Shopee , TikTok Shop หรือ Lazada ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง และในปัจจุบันแพลตฟอร์ม E-Commerce ก็เริ่มมีฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอสินค้าผนวกรวมไปด้วยเช่น Shopee Video เป็นต้น
- ข้อเสีย: แบรนด์ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้แพลตฟอร์ม โดยอัตราค่าธรรมเนียมต่างกันตามแพลตฟอร์มและประเภทสินค้าซึ่งอาจลดกำไรต่อชิ้นได้ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการควบคุมการนำเสนอสินค้าบางประเภทด้วย
- เว็บไซต์ของแบรนด์
- ข้อดี: เว็บไซต์ของแบรนด์ช่วยให้สามารถควบคุมประสบการณ์ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ทั้งการออกแบบหน้าเว็บไซต์ โปรโมชั่น และวิธีการนำเสนอสินค้า นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลลูกค้าได้โดยตรงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์การตลาดด้วย
- ข้อเสีย: การสร้างเว็บไซต์ให้รองรับการขายมีความซับซ้อนและใช้ต้นทุนเวลา ค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงต้องอาศัยการโปรโมตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นการทำ SEO, การโปรโมตเว็บไซต์ผ่านแพลตฟอร์มอื่น เป็นต้น
- Social Media ของแบรนด์
- ข้อดี: Social Media ช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการจัดแคมเปญการตลาด การแจ้งโปรโมชั่น การซื้อขาย หรือการตอบคำถามลูกค้า เรียกว่าทำให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น
- ข้อเสีย: Social Media ของแบรนด์จำเป็นต้องมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า และในแง่ของการซื้อขาย Social Media บางแพลตฟอร์มอาจไม่มีฟังก์ชันอำนวยความสะดวกในการขายสินค้า
ร้านค้า Hyper Market
- ข้อดี: Hyper Market เป็นช่องทางที่เพิ่มการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวและลูกค้าทั่วไปที่อาจไม่ได้รู้จักแบรนด์มาก่อน ได้มีโอกาสเข้าถึง
- ข้อเสีย: ค่าจัดการและต้นทุนการขายสูง จากค่า GP และมีความเสี่ยงที่อาจจจะไม่ได้พื้นที่ขายในโซนที่คนผ่านบ่อย
ร้านสะดวกซื้อ
- ข้อดี: การกระจายสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย และมีจำนวนผู้เข้าใช้บริการร้านสะดวกซื้อต่อวันจำนวนมาก สร้างโอกาสการรับรู้ถึงแบรนด์ได้ดี
- ข้อเสีย: ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของร้านสะดวกซื้อ เช่น Shelf Life, รูปแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
ดรักซ์สโตร์
- ข้อดี: ช่องทางนี้เหมาะสำหรับสินค้าที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสกินแคร์โดยเฉพาะ ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
- ข้อเสีย: ค่าบริหารจัดการค่อนข้างสูง และต้องเผชิญกับการแข่งขันจากหลายแบรนด์ที่ต้องการพื้นที่วางสินค้าประเภทเดียวกันในร้าน
Cosmetic Store
- ข้อดี: เข้าถึงลูกค้าที่มองหาผลิตภัณฑ์ความงามโดยเฉพาะ สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เชี่ยวชาญในด้านความงามและช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการเลือกซื้อ
- ข้อเสีย: การแข่งขันสูงมาก ค่า GP ก็สูง จำเป็นต้องมีโปรโมชันที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า
ขายผ่านดีลเลอร์หรือดิสทริบิวเตอร์
- ข้อดี: ช่วยลดต้นทุนการกระจายสินค้าและเข้าถึงร้านค้าต่างๆ อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
- ข้อเสีย: การควบคุมราคาขายและภาพลักษณ์แบรนด์จะลดลงเนื่องจากดีลเลอร์มีอิสระในการกำหนดราคา
TV Shopping
- ข้อดี: สามารถแสดงการใช้งานและคุณสมบัติสินค้าได้อย่างละเอียด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ เช่น แม่บ้าน หรือคนที่ทำงานที่บ้าน เป็นต้น
- ข้อเสีย: ค่าโฆษณาและค่าผลิตรายการสูง
คลินิกของตัวเอง (สำหรับเจ้าของคลินิก)
- ข้อดี: ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ดีมาก และเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อโดยเฉพาะลูกค้าเดิมที่ใช้บริการคลินิกอยู่แล้ว
- ข้อเสีย: ฐานลูกค้าอาจจำกัดเฉพาะผู้ใช้บริการในพื้นที่ ซึ่งอาจต้องมีการขยายฐานลูกค้าผ่านช่องทางอื่นร่วมด้วย
วิธีการเลือกช่องทางจัดจำหน่ายที่เหมาะสมสำหรับแบรนด์สกินแคร์ของคุณ
การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
การระบุพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเป็นขั้นตอนสำคัญอันดับแรก ที่จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจถึงนิสัยการซื้อสินค้า รวมถึงความถี่ในการซื้อ สินค้าที่ลูกค้ามักเลือก รวมไปถึงช่องทางที่พวกเขานิยมใช้ เช่น ลูกค้าที่ชื่นชอบการซื้อของออนไลน์มักใช้ E-commerce Platform มากกว่าร้านค้าจริง หรืออาจชอบดูรีวิวสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียก่อนตัดสินใจซื้อ การวิเคราะห์เหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายในการเข้าถึงสินค้า การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อแบรนด์เลือกช่องทางที่ลูกค้าชื่นชอบและมีโอกาสเกิดการซื้อสูง ก็จะเพิ่มการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้มากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น หากแบรนด์ทราบว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมักซื้อสินค้าผ่าน Social Media แบรนด์อาจจะเน้นการทำแคมเปญใน Instagram หรือ Facebook และมีทีมแอดมินคอยให้บริการอย่างรวดเร็ว การเลือกช่องทางที่เหมาะสมนี้ไม่เพียงเพิ่มยอดขาย แต่ยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ด้วย
พิจารณาต้นทุนและงบประมาณในการจัดจำหน่าย
การเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างช่องทางการขายต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการขายผ่าน E-commerce Platform ที่มีค่าคอมมิชชั่นเทียบกับการขายผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์เองที่มีต้นทุนในการโปรโมตและดูแลเว็บไซต์ จะช่วยให้แบรนด์เลือกช่องทางที่คุ้มค่าและให้ผลตอบแทนสูงสุด การประเมินต้นทุนรวมถึงการคาดการณ์รายได้จากแต่ละช่องทางจึงเป็นการวางแผนที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเน้นการลงทุนที่ได้กำไรสูงขึ้น
การใช้กลยุทธ์ Omni-Channel เพื่อขยายการเข้าถึง
Omni-Channel หรือการมีหลายช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเป็นวิธีการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ในช่องทางที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อผ่านออนไลน์ โซเชียลมีเดีย หรือหน้าร้าน กลยุทธ์นี้ช่วยสร้างประสบการณ์การซื้อที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงทุกช่องทางเข้าด้วยกัน ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าออนไลน์และเลือกรับสินค้าที่หน้าร้าน หรือเปลี่ยนสินค้าได้ที่หน้าร้าน ซึ่งจะเพิ่มความพึงพอใจและความสะดวกในการซื้อ อีกทั้งยังช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น
การกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดการคลังสินค้าและสต็อก
การวางแผนจัดการสต็อกที่ดีช่วยให้สินค้าพร้อมจำหน่ายในทุกช่องทางโดยไม่เกิดปัญหาสินค้าหมดสต็อก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียโอกาสการขาย แบรนด์อาจใช้ระบบติดตามสต็อก ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของสินค้าทั้งหมด รวมถึงใช้ข้อมูลการขายเพื่อคาดการณ์ความต้องการและวางแผนการเติมสินค้าล่วงหน้า การจัดการสต็อกที่มีประสิทธิภาพยังช่วยลดต้นทุนการจัดเก็บและค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าอีกด้วย
การวัดผลและปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย ข้อคิดเห็นจากลูกค้า และพฤติกรรมการซื้อที่เกิดขึ้นในแต่ละช่องทางช่วยให้แบรนด์เข้าใจถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทาง เช่น ช่องทางออนไลน์ที่ขายได้ดีในกลุ่มวัยรุ่น หรือหน้าร้านที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ยังช่วยให้แบรนด์สามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์และสถานการณ์ การวัดผลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แบรนด์สามารถปรับปรุงการจัดจำหน่ายและเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย
สรุป ทำไมแบรนด์ต้องวางกลยุทธ์การกระจายสินค้าและ ช่องทางจำหน่ายสกินแคร์
การวางกลยุทธ์และกระจายสินค้าสกินแคร์ในแต่ละช่องทางการขายอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้แบรนด์เติบโตอย่างมั่นคง และการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของแต่ละช่องทาง ช่วยให้แบรนด์สามารถเลือกช่องทางที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การบริหารคลังสินค้าและสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวัดผลและปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย จะช่วยให้การกระจายสินค้าครอบคลุม ตอบโจทย์ลูกค้า และเพิ่มโอกาสการสร้างยอดขายได้ดีขึ้น
สร้างแบรนด์สกินแคร์ และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ร่วมกับ วธูธร
“วธูธร” โรงงานผลิตครีม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีประสบการ์ณมากกว่า 10 ปี ในการผลิตครีมสำหรับคลินิก เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สำหรับโรงพยาบาลอย่างครบวงจร ภายใต้มาตรฐาน GMP ระดับสากล พร้อมบริการสร้างแบรนด์ ภายใต้แบรนด์ของคุณ เลือกได้ทั้งแบบ OEM (ผลิตภัณฑ์สูตรพร้อมสร้างแบรนด์) และ ODM (พัฒนาสูตรขึ้นใหม่ลิขสิทธิ์เฉพาะแบรนด์ของคุณ) พร้อมทั้งมีสารสกัดให้เลือกอย่างครบครัน ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
พร้อมให้บริการสร้างแบรนด์ และการตลาดดิจิทัลสำหรับเครื่องสำอาง สกินแคร์ แบบครบวงจร ช่วยให้การเริ่มต้นธุรกิจในฝันของคุณราบรื่นและเป็นไปตามที่ต้องการ
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พร้อมให้บริการแบบครบวงจร
- RESEARCH & DEVELOPMENT – รองรับทุกไอเดียการสร้างแบรนด์ที่คุณต้องการ ด้วยบริการวิจัย และ พัฒนาสูตร โดยนักผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (R&D SPECIALIST) โดยนักวิจัย เภสัชกร และ นักวิทยาศาสตร์ พร้อมทีมที่ปรึกษา
- PACKAGING DESIGN & BANNER DESIGN – ออกแบบโลโก้สินค้า แบนเนอร์ แพคเกจจิ้ง และงานอาร์ตเวิร์ค ให้มีความสวยงาม น่าสนใจ น่าดึงดูด บ่งบอกถึงเอกลักษณ์แบรนด์ ตอบโจทย์ความต้องการ
- COSMETIC FILLING & PLANNING – บริการวางแผน และบรรจุเครื่องสำอาง แบ่งบรรจุตามปริมาณด้วยมาตรฐานระดับสากล พร้อมเครื่องจักรทันสมัย มีทีมประกันคุณภาพ (QA), การตรวจสอบ และ การควบคุมคุณภาพ (QC) คอยดูแล และ ตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิตสินค้าของลูกค้า เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการส่งสินค้าเข้าคลังโมเดิร์นเทรด
- PACKAGING TEST – บริการเพื่อตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพสินค้าก่อนวางขายจริง รวมทั้งบริการทดสอบการรั่วซึมของบรรจุภัณฑ์ (Leakage) ความเข้ากันได้ระหว่างเนื้อครีม กับ บรรจุภัณฑ์ (Compatibility) และ มีบริการทดสอบความคงตัวของเนื้อครีม (Stability) เพื่อประเมินอายุการเก็บรักษาของเนื้อครีม
- PRINTING & SCREEN – บริการงานผลิต และ พิมพ์ฉลากลงบนเครื่องสำอาง โดย ใช้เครื่องผลิตที่ทันสมัย สามารถออกแบบได้ตามความต้องการของลูกค้า เพื่อตอบรับความต้องการหลากหลายรูปแบบของลูกค้า ตั้งแต่ จำนวนน้อย ไปถึง จำนวนมาก
- CERTIFICATE DOCUMENT – อำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น ด้วยบริการจดแจ้งเอกสารรับรอง ขอหนังสือรับรองการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยากระทรวงสาธารณสุข (อย.) (CFS) เพื่อแสดงว่าสามารถจัดจำหน่ายทั้งในประเทศ และ หนังสือรับรอง (Certificate of Origin) ว่ามีการผลิตที่แท้จริงในประเทศ เพื่อใช้รับรองการขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในการนำเข้า
- บริการอื่น ๆ แบบครบวงจร – ทั้ง STUDIO & PRODUCTION ถ่ายภาพสินค้าทั้งภาพนิ่ง วิดีโอ สร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ รวมถึงบริการอบรม และให้คำปรึกษาการสร้างแบรนด์ และการทำตลาดออนไลน์ Digital Marketing, Online Marketing เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำโฆษณา การตลาด และ การสื่อสารเพื่อสร้างยอดขายและผลกำไรให้กับธุรกิจของลูกค้าผ่านช่องทาง E-Commerce และช่องทาง social media ต่างๆ
ติดต่อเราเพื่อขอรับคำปรึกษา
- โทรศัพท์ : 02-961-7944
- Hotline: 062-598-4224
- Email: wathoothornsales@gmail.com, sales@wathoothorn.com
จันทร์ – ศุกร์ : 08.30-17.30 (หยุด เสาร์-อาทิตย์)