กัญชา กับเครื่องสำอาง คุณค่าความงามที่ผู้หญิงคู่ควรจริงหรือ ? ปัจจุบันนี้กระแสของกัญชา กำลังเป็นที่น่าจับตามองในประเทศไทย มุมมองของวงการเครื่องสำอางกัญชา ถือว่าเป็นกระแสที่น่าสนใจอย่างมาก เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลากหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว คอสเมติก รวมไปถึงยาสีฟันและน้ำหอม เป็นต้น วันนี้วธูธรจะมาเล่ามุมมองของกัญชากับเครื่องสำอาง ว่าทำไมกัญชาถึงมีความน่าสนใจสำหรับวงการเครื่องสำอาง และกัญชามีความแตกต่างที่นอกเหนือทางการรักษาโรคอย่างไรบ้าง เราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
คุณสมบัติของ กัญชา ที่นำมาใช้ในผลิตเครื่องสำอาง
นักวิจัยก็ได้ผลสรุปออกมาว่า กัญชามีคุณสมบัติพิเศษสำหรับการบำรุงผิว ดังนี้
- การชะลอวัยให้กับผิวหน้า
- มีสารต่อต้านการอักเสบ
- มีสารอนุมูลอิสระ ปกป้องริ้วรอยที่เกิดจากแสงแดด
- ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้แก่ผิวอีกด้วย
ความเป็นมากัญชา ในการนำมาผลิตเครื่องสำอาง
กัญชาเป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีเขตการกระจายพันธุ์ในอัฟกานิสถาน ทวีปแอฟริกาเขตร้อน ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ และใต้ และฮาวาย พบปลูกมากในยุโรป ประเทศบราซิล อเมริกันแถบตะวันออก และปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งในกัญชามีสารสำคัญ 3 ชนิด คือ ในส่วนของการนำกัญชามาใช้ในเครื่องสำอางนั้นจะใช้ส่วนของเมล็ด ดอกและใบจากต้นกัญชา
สารสำคัญในกัญชาที่นำมาใช้ผลิตเครื่องสำอาง
สารสกัดกัญชาที่นำมาใช้ในเครื่องสำอาง ควรสกัดมาจากเมล็ดกัญชาที่ดีรับมาตรฐาน ซึ่งในกัญชามีสาร Cannabidol-CBD ที่ไม่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท เสพแล้วไม่เคลิบเคลิ้ม ไม่มีผลข้างเคียง จึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ ในวงการเครื่องสำอาง ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชามากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว บำรุงเส้นผม คอสเมติก ยาสีฟัน และน้ำหอม เป็นต้น
นักวิจัยต่างชี้ว่า ในด้านประโยชน์ของกัญชาทางด้านความงามมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ ยังช่วยลดภาวการณ์อักเสบของผิวได้ ทำให้ผิวเกิดความยืดหยุ่น เนียนนุ่ม และอ่อนเยาว์ จึงเหมาะสำหรับการนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
ความเข้มข้นของกัญชาในเครื่องสำอาง
ในแต่ละประเทศ จะมีการกำหนดปริมาณความเข้มข้นของกัญชาในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ
- ประเทศทางยุโรปกำหนดให้มีไม่เกิน 0.2%
- ประเทศออสเตรเลียกำหนดให้ไม่เกิน 0.5-1%
- ประเทศไทยกำหนดให้มีไม่เกิน 0.2%
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ล่าสุดเรื่องระบุชื่อสารเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มีสาร Cannabidiol , CBD เป็นส่วนประกอบหลัก และมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล THC ไม่เกิน 0.2%
ทั้งนี้สำหรับกัญชาในเครื่องสำอาง ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป และอเมริกา มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ได้กระแสตอบรับแบบเฉพาะบางกลุ่มก็ตาม แต่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการผลิตเครื่องสำอางไม่ใช่น้อย ในส่วนของกระบวนการผลิต และกฎหมายในประเทศไทยนั้น ต้องศึกษาในเรื่องการผลิตเครื่องสำอางกัญชาว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การอนุญาตให้ใช้เฉพาะสารสกัดที่ได้จากภายในประเทศเท่านั้น หรือสามารถนำเข้าจากต่างประเทศได้ในอนาคต และวิธีการยื่นขอใบอนุญาตต่างๆ จะต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป
- โทร : 02-961-7944
- Line : @wathoothorn (มี@ด้วยนะคะ)
- Facebook : Wathoothorn.GMPPlus
- Youtube : wathoothornchannel
“WE CONNECT TOMORROW เชื่อมความฝันสู่อนาคต”